Headless CMS VS Traditional CMS


Headless CMS คืออะไร มีข้อดีข้อเสีย อย่างไรเมื่อเทียบกับ Traditional CMS

Updated On November 25, 2023 by Adisak Chaiyakul

cover

ช่วงนี้กระแสของ Headless CMS กำลังมาเพราะด้วยข้อดีหลายอย่างที่มากลบจุดอ่อนของ CMS แบบเดิมแต่มันก็มีจุดด้อยด้วยเช่นกันและมันไม่ได้เหมาะสำหรับทุกธุรกิจแน่นอน เรามาดูกันดีกว่าว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะและไม่เหมาะอย่างไรบ้าง

Headless CMS คืออะไร

headless CMS คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลที่มีแต่ backend เท่านั้น โดยจะเข้าถึงข้อมูลผ่าน API (REST API | GRAPHQL | TRQL | ETC) หรือจะพูดในอีกทางหนึ่งได้ว่ามันแยก frontend(HEAD) และ backend ออกจากกัน

จริงๆดูตารางข้างล่างนี้ก็สรุปทุกอย่างแล้ว แต่ถ้ายังไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัย อ่านผมขยี้ในแต่ละหัวข้อต่อได้

Pros and Cons

CMSHEADLESS CMS
Time To Launchง่ายและเร็วกว่านานและต้องเขียนโค้ดเพิ่ม
Customizationยากและมีข้อจำกัดง่ายและไม่มีข้อจำกัด
Securityง่ายกว่าเพราะมี build-in security /
ถูก hack ง่ายกว่าถ้า platform หลักมีช่องโหว่ /
integrate กับ third-party ยาก
ยากกว่าเพราะส่วนมากใช้ third-party /
ถูก hack ยากกว่าเพราะใช้ third-party
Costค่า host ถูกค่า host x2
Scaleยากกว่าและใช้ cost เยอะกว่าง่ายกว่าและประหยัดกว่า
Performanceช้าเร็ว
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Traditional CMS vs Headless CMS

ถ้ายังไม่พอใจก็มาอ่านผมขยี้ต่อกันได้เลย

Time To Launch ระยะเวลาในการขึ้นเว็บ

แน่นอนว่า CMS แบบเก่าสามารถขึ้นเว็บได้เร็วกว่าแน่นอนเพราะมัดรวมทุกอย่างมาให้อยู่แล้วเพียงแค่คุณกดตาม step ไปเรื่อยๆ แล้วไปหาซื้อ theme สวยๆมาลงก็เป็นที่เรียบร้อย

แต่ Headless CMS หลังจากคุณ setup หลังบ้านเสร็จแล้วคุณจะต้องมาสร้าง front-end จาก 0 ซึ่งใช้เวลานานแน่นอน และก็ไม่มี theme ที่สามารถโหลดมาแล้วใช้ได้เลยด้วยในตอนนี้ส่วนมากต้องมา custom เพิ่ม

Customization การปรับแต่ง

Traditional CMS จิตนาการของคุณจะถูกตีกรอบด้วยขีดจำกัดทางสายเลือด เพราะจะปรับแต่งได้ด้วยท่าที่ทาง platform นั้นๆกำหนดเท่านั้นทำให้คุณไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งในเรื่องความสวยงามหรือ การ integrate กับ third-party ต่างๆเช่นการจ่ายเงิน

Headless CMS จิตนาการของคุณจะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ เพราะคุณจะสร้าง front-end ด้วยเทคโนโลยีไหนก็ได้ จะให้มันเว่อวังอลังการแค่ไหนก็ได้ตามใจคุณเลย สามารถ integrate กับ third-party ได้ง่าย

Security ความปลอดภัย

Traditional CMS ปลอดภัยน้อยกว่า เพราะส่วนมากจะมี build-in และคนส่วนใหญ่ก็มักใช้ build-in Security กันอยู่แล้ว หาก hacker พบช่องโหว่ของ platform นั้นๆคุณก็แตกแค่นั้นเอง ทำให้เราต้องมาตาม update platform กันตลอดเวลาเพื่อให้เว็บไซด์ของเรามีความปลอดภัยสูงสุดเสมอ

Headless CMS ปลอดภัยมากกว่าเพราะส่วนมากใช้ third-party กันอยู่แล้วเช่น auth0 หรืออะไรก็ตามที่คุณถนัด ทำให้หาก hacker พบช่องโหว่ใน platform หลักคุณก็จะไม่ถูก hack ไปด้วย และอีกสองจุดหลักๆคือ

  1. headless platform ส่วนมากจะใช้เทคโนโลยีใหม่กว่าและมีความปลอดภัยกว่า
  2. third-party ที่ทำเรื่อง security โดยเฉพาะก็มักจะปลอดภัยกว่าอยู่แล้ว

Cost & Scale ค่าใช้จ่ายและการขยาย

Traditional CMS ไม่ได้ถูกกว่าเสมอ และ Headless CMS ก็ไม่ได้แพงกว่าเสมอ

สิ่งที่จะทำให้อะไรถูกหรือแพงกว่ากันปัจจัยหลักก็คือ Traffic หรือ ปริมาณคนเข้าเว็บไซด์

Traffic น้อย Traditional CMS ถูกกว่า

Traditional CMS ถ้าให้คิดง่ายๆมันก็ต้องถูกกว่าเพราะ front-end และ backend อยู่ด้วยกันเวลาจ่ายค่า server อันเดียวจบ ใช่เลยครับถูกต้อง แต่เฉพาะในกรณีที่เว็บไซด์ของคุณยังมีขนาดเล็กและไม่ได้ต้องการรับ load มากๆ เช่น blog ส่วนตัว portforio เว็บไซด์โปรไฟด์บริษัท ซึ่งมักมีคนเข้ามาอ่านไม่มากนัก แต่เมื่อใดที่ traffic คุณเยอะขึ้น Platform CMS สำเร็จรูปจะชาร์จคุณเยอะมากในการ scale เว็บไซด์ของคุณ

ส่วน Headless CMS จะแพงกว่าแน่นอนเพราะต้องจ่ายค่า server แยกกันระหว่าง Backend และ Front-end ในกรณีที่มีคนเข้าชมน้อยมันเลยเกินความจำเป็นไปมากหรือจะเรียกว่า overengineering หรือขี่ช้างจับตั๊กแตน ก็ได้ว่าได้

Traffic มากกก Headless CMS ถูกกว่า

ในทางกลับกันหากมี traffic มากกกๆ ใน Traditional CMS นั้นในทุกๆ request นั้นจะใช้ cpu ในการประมาณผล ทำให้ยิ่งคนเข้าชมมากก็ยิ่งต้องใช้ CPU ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการรับ traffic ที่หลั่งไหลเข้ามา ซึ่งการ scale up หรือเพิ่มขนาด RAM CPU ของ Server นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงทำให้ Cost นั้นจะสูงกว่า

Headless CMS มีวิธีคิดที่แตกต่างกันออกไป เพราะได้แยกส่วน Front-end กับ Backend ไว้แล้วทำให้ทุกๆ request นั้นไม่ได้จำเป็นต้องส่งไปถึง Backend เสมอถ้าไม่จำเป็น ทำให้ Backend จะถูกใช้งานเมื่อในยามที่จำเป็นเท่านั้นเช่นการ Submit form เพื่อเก็บข้อมูลบางอย่าง

Serverless เพิ่มเติมในส่วนของ Front-end เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นพัฒนาไปไกลมากแล้ว โดยในปัจจุบันนั้นมักใช้ Serverless Front-end เช่น Next.js + Vercel ทำให้เราสามารถสร้าง Generated static page ในส่วนเนื้อหาที่มักมีการเข้าถึงบ่อยและไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยนักได้ ทำให้เราตอบสนองเร็วและไม่จำเป็นต้องใช้ server ในการประมาณผลทำให้รับโหลดได้เยอะในราคาที่ถูกมาก

scale แบบแยกส่วน การใช้ Headless CMS นั้นเราได้แยก front-end และ backend ไว้อยู่แล้วทำให้เราสามารถ scale ทั้งสองส่วนแยกกันได้ เช่นหากเราเห็นว่า front-end เรามี traffic เยอะมากแต่ backend นั้นถูกใช้น้อยมากเราก็สามารถที่จะ scale แค่ Front-end ได้ และหากในภายหลัง Backend เริ่มมี load สูงขึ้นเราก็ค่อยๆ scale Backend ตามมาก็ได้ทำให้ Cost Effective ดีกว่า

Performance ประสิทธิภาพ

ยังไง Headless CMS ก็เร็วกว่าไม่ว่าจะ Optimize ยังไง CMS ธรรมดาก็ไม่สามารถสู้ได้ เพราะจุดประสงและการออกแบบนั้นต่างกันตั้งแต่ต้น

แล้วเราต้องใช้ CMS แบบไหนดีหละ

จากข้อดีและข้อเสียที่ได้ร่ายมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า CMS ทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเราเลยต้องใช้มันให้ถูกงานสรุปสั้นๆได้ดังนี้

Traditional CMS เหมาะกับใคร

เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มต้นและต้องการทดลองทำเว็บไซด์เพื่อเป็นอีกช่องทางในการติดต่อหรือสร้าง lead ซึ่งสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มต้นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่อง traffic เท่าใดนัก

Headless CMS เหมาะกับใคร

เหมาะกับคนที่มีเว็บไซด์อยู่แล้ว แต่ต้องการพัฒนาประสบการการใช้งานหรือ UX/UI ให้ดียิ่งขึ้น

เหมาะกับคนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซด์ให้เร็วขึ้น

เหมาะกับเว็บที่มี traffic เยอะมากและต้องการ scale โดยมี Cost-Effective ที่ดี

เหมาะกับธุรกิจที่อยู่ Online เป็นหลักต้องการความ perfact ก็ไม่ผิดที่จะเริ่มด้วย Headless CMS เพราะมันเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงลูกค้าของคุณ

สรุป..

ทุก CMS มีข้อดีข้อเสียในตัวเอง การเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับงานก็จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและงบไปได้มาก ถ้าจะให้ผมแนะนำการเริ่มต้นสำหรับคนทำธุรกิจใหม่นั้นการใช้ CMS สำเร็จรูปก็อาจจะเหมาะกว่า เพราะทำให้คุณได้ทดลองและวัดผลได้เร็วกว่า ไม่ว่าจะเป็น WordPress Wix squarespace Shopify ก็ตาม

เมื่อธุรกิจและ Brand ของคุณเติบโตขึ้นการใข้ CMS สำเร็จรูปจะทำให้คุณต้องการค่าบริการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในการ scale ทั้งค่ารายเดือนหรือบางค่ายยังจะชาร์จ % จากการขายด้วยซ้ำ การขยับมา Headless CMS ก็จะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งประสบการการใช้งานและ optimize cost ของทุกอย่างลงอย่างมีประสิทธิภาพ

cover

Craft by

Adisak Chaiyakul

Developer ที่ชอบปั่นจักรยาน รักในเสียงดนตรี และการท่องเที่ยวธรรมชาติ มีความพยายามที่จะหา solution สำหรับ SME และคนตัวเล็กที่จะเอาชนะความเหลื่อมล้ำทางโอกาศด้วยเทคโนโลยี สนใจและเสพเนื้อหาแทบทุกเรื่องแต่สื่อสารไม่ได้เก่ง แต่กำลังพัฒนาตัวเองอยู่นะ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Klabban.com